แผนที่ท่องเที่ยวบ้านผารังหมี


แผนที่ท่องเที่ยวหมู่บ้านผารังหมี

จัดทำโดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม



สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน


 สถานที่สำคัญในหมู่บ้านผารังหมี


ศาลเจ้าพ่อร่มขาว

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวบ้านบ้านผารังหมี ศาลเจ้าพ่อร่มขาวสร้างขึ้นมาเมื่อไรยังไม่มีใครทราบ แต่ชาวบ้านผารังหมีเล่าขานกันว่า มีมาตั้งแต่สร้างหมู่บ้านแรกๆแล้ว



วัดผารังหมีวนาราม


 วัดผารังหมี ที่ตั้งอยู่เลขที่ 206 หมู่ 3 ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ของวัดมีทั้งหมดประมาณ 22 ไร่ 40 ตารางวา วัดได้เริ่มได้เริ่มแจ้งจดทะเบียนในปี พ.2480 แล้วมาสร้างอย่างเป็นรูปวัดในปี พ.2514เนื่องจากมีพระมาอยู่ในถ้ำแต่ในถ้ำมีค้างคาวชาวบ้านเห็นจึงได้คิดริเริ่มสร้างวัด ชาวบ้านจึงได้ซื้อและบริจาคที่ดินเพื่อที่จะสร้างวัด ซึ่งมีรายชื่อผู้ร่วมบริจาค


สมเด็จรวมใจ


      หรือหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปางชนะมาร ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์คู่บ้านของชาวบ้านผารังหมีหรือหลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปปางชนะมาร ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวบ้านผารังหมี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.2550 เวลาลูกหลานบ้านผารังหมี กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด ก็จะกลับมาไว้หลวงพ่อข้าวทุกครั้ง เพราะท่านคือสถานที่รวมจิตใจของชาวบ้านบ้านผารังหมี



ถ้ำผารังหมี  



ถ้ำผารังหมีวนาราม มี 2 แห่ง ทั้งทิศเหนือและทิศตะวันตก เป็นภูผาหิน ซึ่งแต่เดิมมีหลวงปู่หลวงมาเห็นถ้ำแล้วเกิดศรัทธาอยากจะสร้างวัดและพระพุทธรูปปางไสยญาติ แล้วทิ้งพระหลวงพ่อเชียงแสนไว้ 1 องค์ หน้าตัก 12 นิ้ว แล้วท่านก็หายไปในถ้ำยังมีหลวงพ่อเพชรมณี เป็นพระพุทธรูปปางไสยญาติ หน้าตัก กว้าง 2.50 เมตร ยาว 14 เมตร สร้างขึ้นเมื่อปี 2517



หลวงพ่อเพชรมณี 


พระพุทธรูปปางไสยาสน์สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๗ ปัจจุบันตั้งอยู่ในถ้ำผารังหมี

ทุ่งปอเทือง


ทุ่งปอเทืองของผู้ใหญ่จันที ชมภูมี และของชาวบ้านในหมู่บ้านผารังหมี ปอเทืองเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบบ้านในหมู่บ้าน นิยมปลูกกันหลังทำนาเสร็จ


จัดทำโดย นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 
สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน   มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

แผนที่หมู่บ้าน

แผนที่หมู่บ้านผารังหมี
















หมู่บ้านผารังหมี หมู่ที่ 3 ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 4,336 ไร่ โดยแบ่งเป็น
พื้นที่ทางการเกษตร            จำนวน   4,019  ไร่
พื้นที่อยู่อาศัย                     จำนวน     290   ไร่
พื้นที่สาธารณะ                    จำนวน      27    ไร่

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ           ติดกับ  บ้านหัวเขา หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปรางจังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก   ติดกับ  บ้านเกษตรสุข หมู่ที่ 17 ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง  จังหวัดพิษณุโลก                                           และบ้านคลองซับรัง หมู่ที่ 12 ตำบลไทรย้อย ตำบลไทรย้อย อำเภอ                                                         เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
ทิศใต้                ติดกับ   บ้านหนองขมิ้น หมู่ที่ 2 ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันตก      ติดกับ  บ้านเนินสำราญ หมู่ที่ 10 ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก


นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 
สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
จากการสำรวจพื้นที่วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559



หน้าแรก



     บ้านผารังหมี ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ทางภาคเหนือของประเทศไทย หมู่บ้านผารังหมี เป็นหมู่บ้าน1ใน17หมู่บ้านของตำบลไทรย้อย และท่านนายกสมเกียรติ เกรียงไกรอนันต์ได้เลือกหมู่บ้านผารังหมีให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้อีก16หมู่บ้านมาศึกษาดูงาน เพราะพื้นฐานของชาวบ้านผารังหมีนั้นจะมีความสามัคคี มีความเสียสละ และมีจิตสาธารณะอยู่แล้ว
ประวัติหมู่บ้าน        
บ้านผารังหมีเดิมมีชื่อเรียกว่า ผาหลังหมีเหตุผลที่เรียกว่า ผาหลังหมีเพราะมีนายพรานท่านหนึ่งชื่อพรานนวย อาศัยอยู่บ้านมุง ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พรานนวยจะเดินสัญจรจากบ้านมุงไปยังบ้านไทรย้อย ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เพราะบ้านญาติพรานนวยอาศัยอยู่ที่ไทรย้อย พรานนวยจะเดินสัญจรไปมาจากบ้านมุงไปบ้านไทรย้อยแบบนี้เป็นประจำ และทางที่เขาสัญจรนั้นจะผ่านแหล่งน้ำกลางหมู่บ้าน จนมาวันหนึ่งพรานนวยได้เจอหมีตัวหนึ่งมันไปกินน้ำและหาปลาในหนองน้ำนั้น ด้วยนิสัยของนายพราน เขาจึงได้ไปยิงหมีตัวนั้น แต่หมีตัวนั้นไม่ได้ตายมันแค่ได้รับบาดเจ็บ หมีตัวนั้นมันก็หนีไปที่รังของมัน รังของมันอยู่บนหลังเขามันไปทำรังอยู่ในอุโมงค์ บังเอิญว่าหมีตัวที่นายพรานนวยยิงเป็นหมีแม่ลูกอ่อน มันกลับไปตายในรังของมันไปตายอยู่กับลูกมัน พรานนวยจึงตามรอยเลือดของหมีไป จนไปเจอแม่หมีนอนตายอยู่ในรังของมันบนหลังเขา ทางพรานนวยก็เลยเรียกว่าผาหลังหมี เพราะรังของหมีอยู่บนหลังเขา               
 ในปี พ.. ๒๕๒๐ ชาวบ้านผารังหมีได้สร้างโรงเรียนบ้านผารังหมีขึ้นมา ๑แห่ง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกและก็รองนายกรัฐมนตรีสังกัดกระทรวงศึกษาธิการมาเปิดป้ายโรงเรียนบ้านผารังหมี ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมาปรึกษากับผู้ใหญ่บ้าน ผู้เฒ่า ผู้แก่และก็คนอื่นๆ ในหมู่บ้านว่าอยากจะถามถึงประวัติความเป็นมาของคำว่า หลังหมีมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะคำว่าหลังหมีมันดูไม่ค่อยจะดี มันเป็นลักษณะเหมือนล้าหลัง มันไม่ค่อยดี และชาวบ้านก็ได้เล่าประวัติให้ท่านฟัง ท่านจึงบอกว่า รังคือที่อยู่อาศัย ส่วนหมีแม่ลูกอ่อนก็แสดงว่า หมีมันเป็นแม่ครัว มันอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ มีรังอาศัยอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำ มีหนองน้ำ เพราะว่าหมีโดนยิงที่หนองน้ำนั้น แสดงว่าเขตพื้นที่บ้านผาหลังหมีอุดสมบูรณ์ ป่าก็เป็นป่าดงดิบ อยากจะขอเปลี่ยนจากคำว่าหลังหมี มาเป็น ผารังหมีเพราะรังคือที่อยู่อาศัย คือบ้านเรือนเราอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านก็เห็นดีด้วย จึงได้เปลี่ยนจากบ้านผาหลังหมีมาเป็นบ้านผารังหมีตั้งแต่ปี พ.. ๒๕๒๐ โดยท่านรองนายกรัฐมนตรีอำพรจันทร วิจิตรเป็นคนเปลี่ยนให้และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔กรมการปกครองได้มาอบรมหมู่บ้านให้หมู่บ้านพัฒนาตนเองตลอดมา

จัดทำโดย นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม