บ้านผารังหมี ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ทางภาคเหนือของประเทศไทย หมู่บ้านผารังหมี เป็นหมู่บ้าน1ใน17หมู่บ้านของตำบลไทรย้อย และท่านนายกสมเกียรติ เกรียงไกรอนันต์ได้เลือกหมู่บ้านผารังหมีให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้อีก16หมู่บ้านมาศึกษาดูงาน เพราะพื้นฐานของชาวบ้านผารังหมีนั้นจะมีความสามัคคี มีความเสียสละ และมีจิตสาธารณะอยู่แล้ว
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านผารังหมีเดิมมีชื่อเรียกว่า “ผาหลังหมี” เหตุผลที่เรียกว่า “ผาหลังหมี”เพราะมีนายพรานท่านหนึ่งชื่อพรานนวย อาศัยอยู่บ้านมุง ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พรานนวยจะเดินสัญจรจากบ้านมุงไปยังบ้านไทรย้อย ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เพราะบ้านญาติพรานนวยอาศัยอยู่ที่ไทรย้อย พรานนวยจะเดินสัญจรไปมาจากบ้านมุงไปบ้านไทรย้อยแบบนี้เป็นประจำ และทางที่เขาสัญจรนั้นจะผ่านแหล่งน้ำกลางหมู่บ้าน จนมาวันหนึ่งพรานนวยได้เจอหมีตัวหนึ่งมันไปกินน้ำและหาปลาในหนองน้ำนั้น ด้วยนิสัยของนายพราน เขาจึงได้ไปยิงหมีตัวนั้น แต่หมีตัวนั้นไม่ได้ตายมันแค่ได้รับบาดเจ็บ หมีตัวนั้นมันก็หนีไปที่รังของมัน รังของมันอยู่บนหลังเขามันไปทำรังอยู่ในอุโมงค์ บังเอิญว่าหมีตัวที่นายพรานนวยยิงเป็นหมีแม่ลูกอ่อน มันกลับไปตายในรังของมันไปตายอยู่กับลูกมัน พรานนวยจึงตามรอยเลือดของหมีไป จนไปเจอแม่หมีนอนตายอยู่ในรังของมันบนหลังเขา ทางพรานนวยก็เลยเรียกว่า“ผาหลังหมี” เพราะรังของหมีอยู่บนหลังเขา
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวบ้านผารังหมีได้สร้างโรงเรียนบ้านผารังหมีขึ้นมา ๑แห่ง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกและก็รองนายกรัฐมนตรีสังกัดกระทรวงศึกษาธิการมาเปิดป้ายโรงเรียนบ้านผารังหมี ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมาปรึกษากับผู้ใหญ่บ้าน ผู้เฒ่า ผู้แก่และก็คนอื่นๆ ในหมู่บ้านว่าอยากจะถามถึงประวัติความเป็นมาของคำว่า “หลังหมี” มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะคำว่าหลังหมีมันดูไม่ค่อยจะดี มันเป็นลักษณะเหมือนล้าหลัง มันไม่ค่อยดี และชาวบ้านก็ได้เล่าประวัติให้ท่านฟัง ท่านจึงบอกว่า “รัง” คือที่อยู่อาศัย ส่วนหมีแม่ลูกอ่อนก็แสดงว่า หมีมันเป็นแม่ครัว มันอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ มีรังอาศัยอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำ มีหนองน้ำ เพราะว่าหมีโดนยิงที่หนองน้ำนั้น แสดงว่าเขตพื้นที่บ้านผาหลังหมีอุดสมบูรณ์ ป่าก็เป็นป่าดงดิบ อยากจะขอเปลี่ยนจากคำว่าหลังหมี มาเป็น “ผารังหมี” เพราะรังคือที่อยู่อาศัย คือบ้านเรือนเราอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านก็เห็นดีด้วย จึงได้เปลี่ยนจากบ้านผาหลังหมีมาเป็น “บ้านผารังหมี” ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยท่านรองนายกรัฐมนตรีอำพรจันทร วิจิตรเป็นคนเปลี่ยนให้และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔กรมการปกครองได้มาอบรมหมู่บ้านให้หมู่บ้านพัฒนาตนเองตลอดมา
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านผารังหมีเดิมมีชื่อเรียกว่า “ผาหลังหมี” เหตุผลที่เรียกว่า “ผาหลังหมี”เพราะมีนายพรานท่านหนึ่งชื่อพรานนวย อาศัยอยู่บ้านมุง ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พรานนวยจะเดินสัญจรจากบ้านมุงไปยังบ้านไทรย้อย ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เพราะบ้านญาติพรานนวยอาศัยอยู่ที่ไทรย้อย พรานนวยจะเดินสัญจรไปมาจากบ้านมุงไปบ้านไทรย้อยแบบนี้เป็นประจำ และทางที่เขาสัญจรนั้นจะผ่านแหล่งน้ำกลางหมู่บ้าน จนมาวันหนึ่งพรานนวยได้เจอหมีตัวหนึ่งมันไปกินน้ำและหาปลาในหนองน้ำนั้น ด้วยนิสัยของนายพราน เขาจึงได้ไปยิงหมีตัวนั้น แต่หมีตัวนั้นไม่ได้ตายมันแค่ได้รับบาดเจ็บ หมีตัวนั้นมันก็หนีไปที่รังของมัน รังของมันอยู่บนหลังเขามันไปทำรังอยู่ในอุโมงค์ บังเอิญว่าหมีตัวที่นายพรานนวยยิงเป็นหมีแม่ลูกอ่อน มันกลับไปตายในรังของมันไปตายอยู่กับลูกมัน พรานนวยจึงตามรอยเลือดของหมีไป จนไปเจอแม่หมีนอนตายอยู่ในรังของมันบนหลังเขา ทางพรานนวยก็เลยเรียกว่า“ผาหลังหมี” เพราะรังของหมีอยู่บนหลังเขา
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวบ้านผารังหมีได้สร้างโรงเรียนบ้านผารังหมีขึ้นมา ๑แห่ง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกและก็รองนายกรัฐมนตรีสังกัดกระทรวงศึกษาธิการมาเปิดป้ายโรงเรียนบ้านผารังหมี ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมาปรึกษากับผู้ใหญ่บ้าน ผู้เฒ่า ผู้แก่และก็คนอื่นๆ ในหมู่บ้านว่าอยากจะถามถึงประวัติความเป็นมาของคำว่า “หลังหมี” มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะคำว่าหลังหมีมันดูไม่ค่อยจะดี มันเป็นลักษณะเหมือนล้าหลัง มันไม่ค่อยดี และชาวบ้านก็ได้เล่าประวัติให้ท่านฟัง ท่านจึงบอกว่า “รัง” คือที่อยู่อาศัย ส่วนหมีแม่ลูกอ่อนก็แสดงว่า หมีมันเป็นแม่ครัว มันอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ มีรังอาศัยอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำ มีหนองน้ำ เพราะว่าหมีโดนยิงที่หนองน้ำนั้น แสดงว่าเขตพื้นที่บ้านผาหลังหมีอุดสมบูรณ์ ป่าก็เป็นป่าดงดิบ อยากจะขอเปลี่ยนจากคำว่าหลังหมี มาเป็น “ผารังหมี” เพราะรังคือที่อยู่อาศัย คือบ้านเรือนเราอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านก็เห็นดีด้วย จึงได้เปลี่ยนจากบ้านผาหลังหมีมาเป็น “บ้านผารังหมี” ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยท่านรองนายกรัฐมนตรีอำพรจันทร วิจิตรเป็นคนเปลี่ยนให้และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔กรมการปกครองได้มาอบรมหมู่บ้านให้หมู่บ้านพัฒนาตนเองตลอดมา
จัดทำโดย นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น